top of page

สังคมโลกในปัจจุบันเป็นสังคมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาอย่างรวดเร็ว สร้างสภาวะการ เปลี่ยนแปลงช่วงเวลาสั้นๆ ที่ผม (ซึ่งจบวิศวกรรมไฟฟ้า) เรียกว่า “Transient Stage” หรือถ้าจะให้ เรียกแบบทันสมัยในยุคนี้จะเป็น “Digital Disruption” และจะเป็นเช่นนี้อยู่อีกนานมาก (ซึ่งไม่เคย เกิดมาก่อนกับสังคมโลก) ส่งผลให้โลกอยู่ในสภาวะ “ไม่แน่นอน (Uncertainty) ทำนายได้ยาก(Unpredictable) และมีความซับซ้อนสูงมาก (high complexity)”


ความแปรปรวนของสังคมโลกสร้างกระแส ความต้องการ “ความรู้ใหม่" เพื่อตอบสนอง “งาน” และหรือ “อาชีพ” ใหม่ ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ และเป็นระยะๆ ถ้าสถาบันอุดมศึกษายังคงจัดการ อุดมศึกษาเชิงผลผลิต เน้น “ความรู้เนื้อหารายวิชา” สำหรับ “ประกอบอาชีพใดอาชีพหนึ่งๆ” ดังกล่าวข้างต้น (ดู My 2 Satangs: มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับ อุดมศึกษาแห่งชาติ) สถาบันอุดมศึกษาต้องประทับ “วันหมดอายุ (Expired Date)” บนใบระเบียน ผลการเรียน หรือ “โภชนาการทางปัญญา” หรือนิสิต/นักศึกษาต้อง “เรียนในสถาบันอุดมศึกษา ตลอดชีวิต” !!! (สถาบันอุดมศึกษาไทยไม่ต้องกังวลเรื่อง “รายได้” อีกต่อไป... 555)


การอุดมศึกษาสำหรับสังคมดิจิตอลที่แปรปรวนตลอดเวลาต้อง “พลิกมุมมอง” ปรับเปลี่ยนรูปแบบ (Transform) กระบวนการ (Process) การจัดการศึกษาสร้าง “บัณฑิต” ให้มีศักยภาพที่สามารถพัฒนาสมรรถนะ (Competency) ตนเองได้อย่างต่อเนื่องเมื่อจบการศึกษา ศักยภาพที่สำคัญกล่าวถึงกันมากเมื่อสังคมโลกเข้าสู่สังคมดิจิตอลคือ ทักษะ “เรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning)” และทักษะศตวรรษที่ 21 อื่นๆ กล่าวคือ

My 2 Satangs:
ทำไมใครๆ ก็พูดถึงผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcomes)
กระบวนการจัดการเรียนการสอนสำหรับสังคมดิจิตอลต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบ (Tranforming) จาก กระบวนการ “บรรจุ”/“สอนหรือบรรยาย” เนื้อหาวิชาความรู้ใส่ในตัว “บัณฑิต” เป็นกระบวนการ “อบรมบ่มเพาะ (Nurture)” ศักยภาพ “ความสามารถ หรือ สามัตถิยะ (Competences)” ซึ่งประกอบด้วย ความรู้ ทักษะ และเจตคติ ต่างๆ ที่บัณฑิต สามารถพัฒนาต่อยอดเป็น “สมรรถนะ (Competencies)” เพื่อการ“ทำงาน” ประสบ ความสำเร็จได้ตลอดชีวิต

ดังนั้นการอุดมศึกษาในสังคมดิจิตอลจะเปลี่ยนจาก “การอุดมศึกษาให้ความรู้เพื่อมีอาชีพ” เป็น
“การอุดมศึกษาอบรมบ่มเพาะทรัพยากรมนุษย์ (ที่เรียกว่า “ปัญญาชนอุดมศึกษา”) ให้มี “ความ
สามารถ” เลี้ยงชีพได้ (Employability)” ซึ่งมีพัฒนาการมาจากการ“เรียนรู้” นั่นคือ

การอุดมศึกษา “ต้อง” มีกระบวนการที่บ่มเพาะให้“การเรียนรู้เกิดขึ้น” ในบัณฑิต “ทุกคน”

ด้วยเหตุผลดังกล่าวทำให้สถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ตลอดจนองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการอุดมศึกษาต่างๆ “พลิกมุมมอง” จากผลการเรียนในรูปแบบใบโภชนาการปัญญา เป็นการบ่มเพาะศักยภาพความสามารถบัณฑิตที่เป็นพัฒนาการจากการ “เรียนรู้” ของบัณฑิต แต่
 

การเรียนรู้เป็น “รูปธรรม” วัด (Assess) ได้ยาก

ผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcomes): หลักฐานเชิงประจักษ์ของการเรียนรู้เพื่อการวัดการเรียนรู้

ภาพข้างต้นเป็นภาพที่นอกจากจะสะท้อนความแตกต่างระหว่างคำว่า“สอน” และ “เรียนรู้” ได้ ชัดเจน (เป็นภาพที่ผมชอบมากเพื่ออธิบาย โดยไม่มีเจตนาจะปรามาสใคร) ยังมีนัยสำคัญที่เป็นที่มา ของ “แนวคิดการวัด (Assess)” การเรียนรู้ คือ “ต้องเรียนรู้” จึงมี “ความสามารถ (Competence)” ทำ “อะไร” ได้

 นิสิต/นักศึกษาต้อง เรียน “รู้” (Learning) จึงจะมีความสามารถ (Competence) ในการทำ “อะไร” บางอย่างได้

 

ซึ่ง “ความสามารถทำอะไรได้บ้าง” เป็นหลักการพื้นฐานที่มาของนิยาม “ผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcomes)” เพื่อสนับสนุนแนวคิดดังกล่าว เราลองมาศึกษาว่า “การเรียนรู้คืออะไร และเกิดได้อย่างไร”

จากภาพข้างต้น Spady กล่าวว่าการ“เรียนรู้” ไม่ใช่แค่การ “ซึมทราบ” เนื้อหาวิชาการ แต่ต้องมี “การย่อย (Assimilation)” “การตีความ (Interpretation)” และ “การใช้ (Using)” ด้วย“วิธีการ” ที่เหมาะสม จึงจะ “ใช้งานได้”


ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการ “เรียนและรู้” ที่ต้องเป็น Active Learning เพื่อให้ผู้เรียนเองเป็นผู้ “ปฏิบัติ” และต้องเป็น “เจ้าของ” การเรียนรู้นั้นๆ ด้วยตนเอง หรือ มีพันธะผูกพัน(Engagement) หลักการพื้นฐานของ “การเรียนรู้” คือ

  • การเรียนรู้เป็น “ผลสะสม” จากสิ่งที่นิสิต/นักศึกษา “ทำ/ปฏิบัติ” เกิดการ “เรียนรู้” สร้างการเปลี่ยนแปลงบางอย่างในตัวผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนสามารถ “ทำและหรือคิด อะไร บางอย่างที่ไม่เคยคิด หรือทำได้มาก่อน”

  • การเรียนรู้เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงความเข้าใจ ที่ถึงแม้จะเป็นพัฒนาการทางปัญญา(พุทธิปัญญา) ผ่านกระบวนการ “การคิด”เป็นส่วนใหญ่ (โดยเฉพาะอุดมศึกษา) แต่ใน บางกรณีจะเป็น “การฝึกฝน” เพื่อพัฒนา “ทักษะ (Skills)” และหรือ เจตคติ/อารมณ์ (Affective) ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและหรือการปฏิบัติ

  • การเรียนรู้เป็นกระบวนการพัฒนาความสามารถ (Competence) สะสมในตัวผู้เรียน

  • การเรียนรู้เป็นทั้งกระบวนการ (Process) และ ผลลัพธ์ (Outcomes)

 

ดังนั้นการเรียนรู้ของผู้เรียนสามารถวัดทางอ้อมได้จากหลักฐานเชิงประจักษ์เป็น “ความสามารถ” ของผู้เรียนที่มีพัฒนาการสะสมจากการเรียนรู้ที่เรียกเป็นที่ว่า“ผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcomes) ”

ข้อสังเกต เนื่องจากในปัจจุบัน “Learning Outcomes” เป็นศัพท์เฉพาะที่มีนิยามได้รับการยอมรับกันในสากล ไม่ใช่คำทั่วๆ ไป ดังนั้นผมจะใช้ภาษาไทยว่า “ผลลัพธ์การเรียนรู้” เพื่อให้เกิดความแตกต่างจาก “ผลลัพธ์การเรียนรู้”  หรือ “result of learning” ซึ่งเป็นคำทั่วๆ ไป)


     Learning outcomes are statements that describe significant and essential learning that learners have achieved and can reliably demonstrate at the end of a course or programme … 

!    Learning outcomes expressing “WHAT” do you want learners to “KNOW”


“BE ABLE TO DO” and “FEEL” in language that is helpful for “ASSESSMENT” … 


นิยามของผลลัพธ์การเรียนรู้ หรือ Learning Outcomes ข้างต้นเป็นนิยามที่ครอบคลุมลักษณะ พื้นฐานหลักๆ ของผลลัพธ์การเรียนรู้ กล่าวคือ

  • ผลลัพธ์การเรียนรู้เป็นผลการเรียนรู้ในมิติของ “ผู้เรียน” ที่ผู้เรียน “ทุกคน” ต้องทำได้ สำเร็จ (Accomplishment of Student)

  • ผลลัพธ์การเรียนรู้เป็น “ถ้อยแถลง (Statement)” ที่เป็นข้อตกลงระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ว่าผู้เรียนต้อง “ทำ” อะไรได้เมื่อจบบทเรียนแต่ละครั้ง

  • ผลลัพธ์การเรียนรู้ต้องกำหนด“อะไร หรือ What”คือสิ่งที่ผู้เรียนต้อง “รู้(Know)” “ทำได้ (Be able to do)”และหรือ “รู้สึกได้ (Feel)”

  • “อะไร (What)” หมายถึง “การกระทำ สมรรถนะ (Performance) และหรือ พฤติกรรม (Behaviour)” ที่ “ชัดเจน (Clear)” “แม่นยำ (Precise)” “เฉพาะ เจาะจง (Specific)” “วัด (Mesure)” ได้ และเป็นสิ่งที่ผู้เรียนสามารถ “สาธิต(Demonstrate)” ออกได้

 

ผลลัพธ์การเรียนรู้จะมี “รูปแบบทั่วๆ ไป” ประกอบส่วนหลักๆ 3 ด้วยกันคือ


    Action Verb + OBJECT + Qualifying phrase… 

นั่นคือผลลัพธ์การเรียนรู้ที่สมบูรณ์ต้องสะท้อนให้ผู้สอนสามารถ “ระบุ” ว่า “WHAT” ของ คำถามเหล่านี้ได้ชัดเจน:

  • “การกระทำ” อะไร ที่นิสิต/นักศึกษาต้อง “ทำได้” ซึ่งจะเป็นผลมาจากการ“รู้ (Know)” และ “เรียนรู้ (Learn)” เรื่องอะไร ?

  • “งาน (Assignment)” “ศาสตร์การสอน (Pedagogy)” และ “กิจกรรมการเรียนรู้ (Learning Activities)” อะไร ที่ส่งเสริมให้นิสิต/นักศึกษาสามารถเปลี่ยนแปลงความ เข้าใจสิ่งที่รู้ พัฒนาทักษะ และเปลี่ยนแปลงความเชื่อหรือเจตคติ

  • ผู้สอนจะประเมินความสำเร็จที่เกิดจากการเรียนรู้ได้ “อย่างไร” หรือ


    ต้อง “ทำอะไรได้” “จะวัดอย่างไร” และ “ใช้วิธีการ (Pedagogy) และกิจกรรมการ  เรียนรู้ อะไร” …

bottom of page