top of page

บัณฑิต (หรือปัญญาชน) สำหรับศตวรรษที่ 21 ต้องเรียนรู้ให้เกิดปัญญาในตน สามารถ “ทำอะไรได้” “คิดอะไรเป็น” และ “เห็นคุณค่าสังคม” มากกว่าแค่ “จำอะไรได้” สังคมในศตวรรษที่ 21 สังคมดิจิตอลที่มีพลวัตรสูง และไร้พรหมแดนในทุกมิติ บัณฑิตของสถาบันอุดมศึกษาต้องเผชิญกับการดำเนินชีวิต และการปฏิบัติงานในสภาพแวดล้อม และหรือ ปัญหาใหม่ๆ ไม่เคยเห็นมาก่อนและความรู้ที่ล้าสมัยเร็วแต่หาได้ง่าย บัณฑิตอุดมด้วยความรู้ของศตวรรษที่ผ่านมาจะไม่สามารถประสพความสำเร็จในทำงานเพื่อเลี้ยงชีพตลอดชีวิต สถาบันอุดมศึกษาจำเป็นต้องพัฒนาระบบนิเวศอุดมศึกษา (Higher Education Ecology System) ที่เน้น “ความสำเร็จในการทำงานเพื่อเลี้ยงชีพตลอดชีวิต หรือ Employability” แทนระบบอุดมศึกษาเพื่อ “การเข้าทำงานมีอาชีพ หรือ Employment” ที่ ดำเนินการมาในศตวรรษที่ 20

ระบบนิเวศอุดมศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21 ต้องเป็นระบบเชิงผลลัพธ์ (Outcome) ที่ต้องเน้น “เปลี่ยนแปลง” พฤติกรรม ความคิด ทักษะ และเจตคติ ของผู้เรียนซึ่งเกิดจากความเข้าใจ (Understanding) หลักการพื้นฐาน สังคมในศตวรรษที่ 21 เป็นสังคมดิจิตอล ขับเคลื่อนด้วยการ สื่อสารและสารสนเทศ การดำเนินชีวิตและการทำงานต้องการความสามารถ หรือสามัตถิยะ (Competence ซึ่งประกอบด้วยความรู้ ทักษะและเจตคติ) ที่แตกต่างจากศตวรรษที่ผ่านมา ตัวอย่างเช่น ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ (Scienc Technology Engineering and Mathematics; STEM) เปลี่ยนจากความสามารถเฉพาะทางเป็น ความสามารถพื้นฐานเพิ่มเติมจากความสามารถด้าน อ่านออกเขียนได้ (Literary) ความสาม ความคิดแบบต่างๆ โดยเฉพาะควาคิดเชิงสร้างสรรค์ การสื่อสาร และอื่นๆ นอกจากนี้ความรู้ใน ศตวรรษที่ 21 ล้าสมัย เปลี่ยนแปลงเร็ว และสามารถหาได้ง่าย การศึกษาเพื่อการเรียน “จำ”ความรู้ให้มากที่สุด ไม่จำเป็นและไม่ก่อประโยชน์ เพราะไม่สามารถประกันความ ทำงาน สถาบันอุดมศึกษาจำเป็นต้องเน้นความสามารถ (Competence) ซึ่งเป็นผลลัพธ์ รู้” ผ่านประสบการณ์ (Experience) หลากหลาย มากกว่า “โภชนาการทางปัญญา (Intellectu Nutrition Facts)” ที่รายงานใน “ใบรับรองผลการศึกษา (Transcript)” สร้างบัณฑิตที่มีความสามารถในการเลี้ยงชีพ (Emploability) ตลอดชีพ ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

 

เพื่อให้คณาจารย์ผู้สอนในสถาบันการอุดมศึกษา สามารถออกแบบการสอนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถของบัณฑิต อาจารย์ต้องแยกแยะความแตกต่างระหว่าง การสอนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และ การบรรยาย การปฏิบัติจากประสบการณ์จริง กับการปฏิบัติเพื่อพิสูจน์ทฤษฎี และการศึกษา (Education) กับ วิชาการ (Academic) นั่นคือคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา “ครูมืออาชีพ” ไม่ใช่ “นักวิชาการมืออาชีพ”

 

 

การเรียนรู้คืออะไร

การเรียนรู้ หรือที่ภาษาอังกฤษใช้ว่า “Learning” เป็นทั้งกระบวนการ (process) และผลลัพธ์ (Outcome) การเรียน เป็นสิ่งที่เรา (ผู้เรียน) “ทำ” ซึ่งเมื่อทำแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงบางอย่างในตัว เรา ทำให้เราสามารถ “ทำและหรือคิด” อะไรบ้างอย่างที่ไม่เคยทำได้มากก่อน นั่นคือเรา “รู้” ซึ่งเป็น ผลลัพธ์ที่พัฒนาความสามารถ หรือ สามัตถิยะ (Competence)ในตน

Killen (Programming and Assessment for Quality Teaching and Learning; 2005 Cengage Learning) เสนอว่าการเรียนรู้ที่มีคุณภาพสูงจะต้องทำให้ผู้เรียน เกิด “ปัญญา” สามารถ:

  1. ประยุกต์ความรู้เพื่อแก้ปัญหาได้1.  

  2. สื่อสารอธิบายความรู้ในตนเองแก่ผู้อื่นได้

  3. รักษาความรู้ใหม่ของตนเองได้เป็นเวลานาน

  4. เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ใหม่กับความรู้ในตนได้

  5. สังเคราะห์ความรู้ใหม่ๆ สร้างปัญญาในตนเองได้

  6. ขวนขวายเรียนรู้เพิ่มเติมด้วยตนเองได้อย่างสม่ำเสมอและตลอดเวลา

การศึกษาคืออะไร

เป้าหมายที่สำคัญที่สุดของการศึกษาคือ “พัฒนาทรัพยากรมนุษย์" ที่เรียกว่า “ปัญญาชน” และ เคารพคุณค่าตนเอง ผู้อื่น และสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาสังคมให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้นและอยู่ร่วมกันอย่าง มีความสงบสุข ดังนั้นหน้าที่หลักของสถาบันการศึกษาคือ ออกแบบกระบวนการสอน (Teaching) ที่ ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ สร้างความรู้ในตน และหรือ ปัญญา และมีความสามารถ สร้างความสำเร็จในการปฏิบัติงานในอาชีพเพื่อพัฒนาสังคม   
 

แต่เนื่องจากสถาบันการศึกษาเป็นแหล่งรวมของผู้มีปัญญา นอกเหนือจากหน้าที่หลัก สถาบันการ ศึกษาต้องทำหน้าที่ ค้นหาความรู้ใหม่ๆ สร้างคลังข้อมูล และชี้นำวิธีการ (How to) ประยุกต์ใช้ความรู้ เพื่อการพัฒนาสังคม ความต้องการพื้นฐานของสังคมยุคที่ผ่านมา คือ การสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อ เติมเต็มแก่ผู้เรียน ทำให้หน้าที่หลักของสถาบันอุดมศึกษาเน้นไปที่การวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ

 

ทำไมวิธีการสอนของอุดมศึกษาต้องเปลี่ยน

การอุดมศึกษาเป็นลำดับขั้นการศึกษาที่จำเป็นขั้นสุดท้ายในการพัฒนาปัญญาชนมี “ความพร้อม” ที่จะออกไปพัฒนาสังคม “ความพร้อม” ที่กล่าวถึงในที่นี้ทำหน้าที่กำหนดวิธีการและคุณภาพกระบวนการสอน หรือการให้การศึกษา ของสถาบันอุดมศึกษาไทย
 

 

My 2 Satangs: การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21: Understanding the Concept

ในศตวรรษที่ 20 ที่ผ่านมา ความจำเป็นเร่งด่วนในเวลานั้น คือ ผลิตนักวิชาชีพในศาสตร์สาขาต่างๆ เพื่อการแข่งขันของแต่ละประเทศ และเนื่องจากความรู้หาได้ ยาก แต่ ล้าสมัยช้า หรืออีกนัยหนึ่งคือ มีอัตราการเพิ่มต่ำ ซึ่งคุณลักษณะสองประการนี้เป็นตัวกำหนดที่สำคัญของการออกแบบกระบวนการสอนของสถาบันอุดมศึกษาในศตวรรษที่ผ่านมา
 

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 20 เป็นการเรียนรู้แบบผิวเผิน (Surface Learning) เน้นการ “เติมเต็ม” “เนื้อหา (Content) วิชาการ”  ที่จำเป็นของแต่ละศาสตร์สาขาวิชาชีพ การออกแบบกระบวนการสอนส่วนใหญ่จึงใช้การถ่ายทอดเชิง “ บรรยาย (lecture)” ความรู้ในตนของนักวิชาการ
(Academic) ศาสตร์สาขาวิชาชีพ สู่นิสิต/นักศึกษา การเรียนรู้ของผู้เรียนถึงแม้ “ท่องจำ” เป็นหลัก บัณฑิต มีเวลาพอ ที่จะบ่มเพาะเนื้อหาวิชาการที่ “ท่องจำ” มาสร้างความรู้ในตน และมีสมรรถนะ (Competency) เพื่อปฏิบัติงานให้สำเร็จอย่างมีประสิทธิผล นั่นคือ “การเรียนรู้ตามหลักการเรียนรู้เกิดขึ้นจากประสบการณ์จริงในปฏิบัติงานระหว่างการประกอบอาชีพ”


ดังนั้นสถาบันอุดมศึกษาไทยที่เรารู้จักจึงเป็นการอุดมศึกษาที่เน้นผลผลิต (Output) เป็นโภชนาการทางปัญญาประกอบด้วยรายวิชาที่สอน ที่เรียกว่า “ใบรับรองผลการศึกษา (Transcript)ภายใต้สมมุติฐานว่า “รายวิชาเหล่านี้สามารถสร้างสมรรถนะให้บัณฑิตปฏิบัติงานในอาชีพที่กำหนดได้สำเร็จ”

 

แต่สำหรับสังคมดิจิตอลในศตวรรษที่ 21 เป็นสังคมที่มีสิ่งเดียวไม่เปลี่ยนแปลงคือ “การเปลี่ยนแปลง” หรืออีกนัยหนึ่งคือ “นวัตกรรมใหม่ๆเกิดขึ้นตลอดเวลาด้วยอัตราการเพิ่มสูง” ความ รู้ล้าสมัยเร็ว การผลิตบัณฑิตของสถาบันอุดมศึกษาโดยกระบวนการแบบ “เติมเต็ม” เนื้อหาวิชาการจึงไม่มีประสิทธิผล เพราะโภชนาการทางปัญญา “ล้าสมัย” ไม่สามารถบ่มเพาะสมรรถนะในการปฏิบัติงานได้สำเร็จอย่างมีประสิทธิผล เมื่อออกไปประกอบวิชาชีพ

 

นอกจากความล้าสมัยของเนื้อหาวิชาการดังกล่าวข้างต้น สังคมดิจิตอลต้องการสมรรถนะที่แตก ต่างจากสังคมอุตสาหกรรม เพื่อปฏิบัติหน้าที่ได้สำเร็จในสภาพแวดล้อมที่พลิกโฉม การผลิตบัณฑิต ของสถาบันอุดมศึกษาในศตวรรษที่ 21 จำเป็นต้องสร้างความสามารถของบัณฑิต ในระหว่างการศึกษา แทนการ “เติมเต็ม” เนื้อหาวิชาการเพียงอย่างเดียว นั่นคือสถาบันอุดมศึกษาต้องปรับกระบวนทัศน์การออกแบบกระบวนการสอนจากเชิงผลิต โภชนาการทางปัญญา ซึ่งเป็นการอุดมศึกษาเชิง “ผลผลิต (Output)” เป็นเชิงพัฒนาความสามารถ และหรือเปลี่ยน พฤติกรรม ของนิสิต/นักศึกษา ซึ่งเป็นการอุดมศึกษาเชิงผลลัพธ์“ (Outcome)”

 

การเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21 ไม่ได้เปลี่ยน หรือมีนวัตกรรมแตกต่างจากหลักการการเรียนรู้ที่ กล่าวข้างต้น เพียงแต่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เน้นกระบวนการพัฒนาเชิง “ปัญญา” ในตัวผู้เรียน เพื่อให้สามารถปฏิบัติ หรือมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงบางอย่างได้
 

bottom of page