My 2 Satangs:
มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ “กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thailand Qualification Framework for Higher Education)”
เมื่อการศึกษาเพิ่มเติมจากเอกสารต้นฉบับภาษาอังกฤษ (National Qualifications Fram for Higher Education in Thailand) และแผนภูมิแสดงความสัมพันธ์ของพระราชบัญญัติ แห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ มาตรฐานการอุดมศึกษา และกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา เพื่อวิเคราะห์หลักการพื้นฐานซึ่งเป็นเบื้องหลังของ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ผมได้คำตอบว่า ในเวลานั้นที่การอุดมศึกษาไทยต้องการสร้าง “เกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิเชิงคุณภาพ” เพื่อสร้าง “ปัญญาชน” อุดมศึกษา ที่มีพัฒนาการ เน้นการ เปลี่ยนแปลง (Change)ในตัวผู้เรียน 5 ด้าน (ดังกล่าวข้างต้น) ซึ่งเป็นผลจาก “การเรียนรู้” ตั้งแต่ วันที่เข้ารับการศึกษาจนถึงวันที่จบการศึกษา เป็นการอุดมศึกษาไทยเชิง “ผลลัพธ์(Outcomes)” ที่ต้องมีการ“พิสูจน์ทราบ” สร้างความ “แน่ใจ (Ensure)”ว่าการเรียนรู้เกิดขึ้น“จริง” ตาม“แผนภูมิแสดงการนำมาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชาสู่การปฏิบัติ (ส่วนที่ 3 ภาคผนวก หน้า 5 ของ กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552)”
ดังนั้นกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 เป็นกรอบความคิด “แก่นพื้นฐาน” ที่บ่งชี้ตัวตน (เสมือนเป็น“DNA”) ของ “บัณฑิตอุดมศึกษาไทย” (หรืออาจจะกล่าวว่าเป็น “รูปโครงร่างพื้นฐาน” ก็ได้) สำหรับสถาบันอุดมศึกษาทุกสถาบันของประเทศไทยใช้เพื่อ“ขึ้นรูป (Mold)” บัณฑิตของตนในแต่ละหลักสูตรเป็น “ปัญญาชนอุดมศึกษา” ของประเทศไทย นั่นคือ
กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา:
“ปัญญาชนอุดมศึกษา” มากกว่า ผู้ “เลียน” รู้
บัณฑิตอุดมศึกษาไทย “ทำงานไม่ได้” เป็นเสียงสะท้อนจากผู้ใช้บัณฑิต ซึ่ง “ดัง” ขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะช่วงเวลานี้ เวลาที่ประเทศไทยต้องการปฏิรูปประเทศสู่ “ประเทศไทย 4.0” เมื่อวิเคราะห์ให้ถ่องแท้จากบริบทและหรือเหตุผล ที่กล่าวถึงข้อความดังกล่าว ความหมายที่แท้จริง “ทำงานไม่ได้” คือ “พัฒนาและหรือฝึกฝนไม่ได้” ซึ่งตอกย้ำว่า
ในศตวรรษที่ 21 และหรือสังคมดิจิตอล“ความรู้” เพียงอย่างเดียวไม่สามารถพัฒนาบัณฑิตให้มี “สมรรถนะ” ประกอบอาชีพได้ประสบความสำเร็จ
ในปัจจุบันสถาบันอุดมศึกษาไทยส่วนใหญ่เน้นสร้างความ“มั่นใจ” (Assuring)ใน “คุณภาพ บัณฑิต” ด้วย “โภชนาการทางปัญญา (Intellectual Nutrition Facts)” ซึ่งเป็นความรู้เนื้อหาวิชาการต่างๆ ตามรายการที่ปรากฎในใบระเบียนผลการเรียน (Transcript) เชิงปริมาณจำนวน หน่วยกิต ที่บัณฑิตได้ลงทะเบียนเรียน บัณฑิตของสถาบันอุดมศึกษาเป็นเพียง “ภาชนะ” บรรจุ รายวิชาเหล่านั้น หรือ ผู้ “เลียน” รู้ (ผมได้คำนี้มาจาก ร.ศ. กิติศักดิ์ พลอยพานิชเจริญ ซึ่งสื่อความหมายได้ดีกับคุณภาพบัณฑิตในปัจจุบัน)
บัณฑิตผู้ “เลียน” รู้ ของสถาบันอุดมศึกษา เมื่อออกไปประกอบอาชีพจะเรียนรู้ (ย่อยโภชนาการทางปัญญา) จากการทำงานสะสมประสบการณ์กลายเป็นผู้ “เรียนรู้” มีสมรรถนะประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพ
วิธีการดังกล่าวนี้เหมาะสมกับสังคมในศตวรรษที่ 20 เนื่องจากความรู้มี “วงจรชีวิต” ยืนยาวกว่าชีวิตบัณฑิต
แต่สำหรับสังคมในศตวรรษที่ 21 หรือสังคมดิจิตอล ความรู้มีวงจรชีวิตที่สั้นลงมากหรืออีกนัยหนึ่ง คือ ความรู้ที่สะสมมาในตัวบัณฑิตไม่ทันสมัยกับงานที่บัณฑิตต้องทำ ส่งผลให้บัณฑิตผู้ “เลียน” รู้ ไม่สามารถพัฒนาและหรือฝึกฝนไม่ได้ ในสายตาของผู้ใชับัณฑิต
ในทางตรงกันข้าม เมื่อผมวิเคราะห์ “แก่นพื้นฐาน” ระบุตัวตนของปัญญาชนอุดมศึกษาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2552 และผลการเรียนรู้ด้านที่กำหนดทฉบับทั้ง 5 ด้านจาก ฉบับภาษาอังกฤษ (ที่ชัดเจนกว่าฉบับภาษาไทย... ในความเห็นของผม) พบว่า “แก่นพื้นฐาน” ระบุตัวตน ปัญญาชนอุดมศึกษามีวัตถุประสงค์บ่มเพาะบัณฑิตที่มีความสามารถมากกว่าเป็นเพียง “ภาชนะ” บรรจุความรู้ หรือ นัก “เลียน” รู้ ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้
สถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทย “ต้อง” อบรมเลี้ยงดู (Nurture) “ปัญญาชน อุดมศึกษา” มีความสามารถ หรือ สามัตถิยะ (Competences)เป็นผลการเรียนรู้ 5 ด้าน คือ เป็นคน “ดี” “เรียนรู้” “มีสติปัญญา” “ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้และมีความรับผิดชอบ” และ มี “digital skills” เป็น “แก่นพื้นฐาน” ที่สามารถพัฒนาเป็นสมรรถนะ(Competencies) สร้างความสำเร็จในการประกอบอาชีพ และสร้างประโยชน์ให้กับสังคมไทย
ข้อสังเกต แต่ไม่ได้หมายความว่า “เฉพาะ” กรอบมาตรฐานคุณวุฒิฯ สามารถเป็น“แก่นพื้นฐาน” เพียงอย่างเดียว สถาบันการอุดมศึกษาสามารถบูรณาการ“แก่นพื้นฐานที่บ่งชี้ตัวของตน” ตัวอย่างเช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ต้องการสร้าง “ผู้นำการเปลี่ยนแปลงสังคม” ก็หมายความว่า มจธ. ต้องใช้ “แก่นพื้นฐานปัญญาชนอุดมศึกษาไทยที่มีความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงสังคม” เพื่อ “ขึ้นรูป” บัณฑิตในทุกหลักสูตร เป็นต้น
เมื่อวันนั้นมาถึง คือวันที่ทุกหลักสูตรของการอุดมศึกษาไทยได้ “คุณสมบัติ(Qualify)” ตาม กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 การอุดมศึกษาไทยจะบ่มเพาะ “บัณฑิต” ที่เรียกว่า “ปัญญาชนอุดมศึกษา” ที่ไม่ใช่เชิง “ปริมาณ” จากจำนวนหน่วยกิตที่ลงทะเบียนเรียนครบ ตามกำหนด และสอบผ่าน แต่จะเป็นเชิง “คุณภาพ” ที่มี “พัฒนาการ” จาก “การเรียนรู้” และได้ “รับ” ปริญญาบัตร เมื่อมีความสามารถ“ หรือ สามัตถิยะ (Competences)” ตามข้อกำหนด จำเพาะพื้นฐาน 5 ด้านดังกล่าวไว้ข้างต้น กล่าวคือ
เมื่อ “ลอกคราบ” ศาสตร์และหรือสาขาวิชาของบัณฑิตทุกคนออก บัณฑิตของอุดมศึกษาไทยจะ “เหมือนกัน” หมดทุกคน คือมี“แก่น” ที่เป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับ อุดมศึกษาแห่งชาติ